วิธีการเลือกแทรมโพลีน 10 ข้อที่ต้องรู้
ข้อ 1 สำคัญที่สุด คือ ความรู้สึกเวลากระโดด
แทรมโพลีนที่ดี ต้องเด้งดี ต้องรู้สึกสนุก
ความสนุก มาจาก สปริง หรือ ยางยืด ที่เด้งดี ช่วยให้ลอยตัวได้สูง
ถ้าสนุก เราจะอยากกระโดด แล้วก็กระโดดต่อเนื่อง ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่อยากได้ เช่น อยากลดน้ำหนัก ต้องอยากเล่น เล่นแล้วไม่เบื่อ ไม่เหมือนโดนบังคับให้ออกกำลังกาย
วิธีเช็คที่ดีที่สุด คือ ต้องไปทดลองกระโดด ตรวจสอบคุณภาพด้วยตัวเอง ถ้าไปไม่ได้ คือ ดูจากรีวิว
ข้อ 2 ความนุ่นนวลของของเข่า ข้อเท้า
ตรงนี้มาจากความยืดหยุ่นของแผ่นกระโดด แผ่นกระโดดที่ดี จะช่วยดันให้ลอยตัวได้สูง ไม่ต้องใช้แรงเยอะ ซึ่งต้องสัมพันธ์กับสปริง หรือยางยืด และโครงสร้างทั้งหมด ถ้าสมดุลย์กัน แทรมโพลีนจะกระโดดได้นุ่นนวล ไม่เจ็บเข่า ข้อเท้าเลย
ข้อ 3 สปริง หรือ ยางยืด - ข้อนี้ ตรวจสอบยากมาก
ถ้าไม่มีความเช้าใจ หรือ ความชำนาญพอ ก็จะดูไม่เป็นเลย ไม่รู้ด้วยว่าต้องดูยังไง เช่น สปริงมีความสลับซับซ้อน สั้นไปไม่ดี ยาวไปไม่เด้ง ต้องพอดีกับโครงสร้างเป๊ะ ถึงจะกระโดดได้ดี วัสดุของสปริง จำนวนเกลียวของสปริง การหมุนของเกลียว น้ำหนักรวมของสปริง รูปร่างของสปริง แบบตรง แบบป่องกลาง เป็นต้น
สปริง หรือ ยางยืด สำคัญมาก เพราะ มันทำให้แทรมโพลีนตัวนั้น กระโดดลอยตัวได้สูงมั้ย ใช้แรงมากหรือแทบไม่ต้องใช้แรงเลย กระโดดแล้วรู้สึกสนุก รู้สึกฟินมั้ย
ถ้าใช้แทรมโพลีนแบบออกกำลังกายหลายคน เล่นนาน ๆ แนะนำให้เลือกรุ่นสปริง เพราะจะทนกว่ายางยืด
ข้อ 4 โครงสร้างต้องแข็งแรง
วิธีเช็ค คือ ดูจากสเปคสินค้า ความหนาของเหล็ก น้ำหนักรวมของแทรมโพลีน
ถ้าได้เห็นของจริง วิธีเช็คที่ง่ายที่สุด คือ ทดลองกระโดดจริง และจับดูฐานแทรมโพลีนเลย
ถ้าเหล็กบาง ไม่แน่นหนา กระโดดแล้วจะรู้สึกโคลงเคลง กระโดดไปสักพัก โครงจะบิดเบี้ยว ไม่สมดุลย์ กระโดดไม่สนุก ไม่ปลอดภัย
ข้อ 5 น้ำหนักที่รับได้ – ถ้ารับได้เยอะ คือ โครงสร้างแข็งแรง
ถ้าเคลมว่ารับน้ำหนักได้เยอะมาก แนะนำให้ไปทดลองจริง จับโครงเหล็กแทรมโพลีนยกดูเลยว่า แข็งแรง แน่นหนาจริงหรือไม่ ตรวจสอบด้วยตัวเองก่อนซื้อ
ข้อ 6 ขนาด และความสูงของฐาน – ความสูงรุ่นเล็ก มาตรฐานยิม ที่กระโดดได้ดี ควรจะสูงจากพื้น 32-35 ซม
แทรมโพลีนที่ฐานเตี้ย 20-22 ซม สปริงจะสั้น กระโดดแล้ว มีเสียงสปริงรบกวน กระโดดลอยได้น้อยมาก ต้องใช้แรงเยอะ เหมาะกับนักกีฬาที่ใช้ warm up, warm down
ข้อ 7 ทีบาร์ – ทีบาร์ช่วยให้เล่นได้หลายหลายท่า ทำให้สนุกมาก ถ้าใช้ทีบาร์เป็น จะช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้แขน ขา สร้างกล้ามเนื้อทุกส่วนได้ดีมาก
วิธีตรวจทีบาร์ ต้องดูวัสดุเหล็ก จับโยกเลยว่า แข็งแรงมั้ย ปรับได้กี่ระดับ ปรับง่ายมั้ย
ความกว้างของที่จับ จับง่ายมั้ย นุ่มนวลกับมือมั้ย และลองเล่นดูเลย
ข้อ 8 ขา และการพับเก็บ – ดูการเชื่อมต่อของขา
พับเก็บในโครงสร้าง ได้เลย หรือ เป็นแบบขาหมุน
แบบขาเกลียวหมุน ขาจะไม่แข็งแรงเท่ากับ ขาพับได้ หรือ ขาที่มาเป็นส่วนเดียวกับตัวโครงแทรมโพลีนเลย
แทรมโพลีนพับได้หรือไม่ ระบบการพับเป็นแบบไหน พับได้ จะเก็บสะดวก เคลื่อนย้ายง่าย ยกไปไหนก็ได้ เล่นได้ทุกที่ ทุกเวลา
ข้อ 9 - ดูเรื่องการรับประกัน บริการหลังขาย
เช็คให้ดีก่อน โดยเฉพาะท่านที่ซื้อผ่านออนไลน์ อย่าดูเฉพาะราคา และรูปภาพ
บางร้าน ไม่มีรูปสินค้าจริง ก๊อปรูปมาจากเว็ปที่อื่น
ถ้าไม่อยากเสียเงินหลายรอบ เลือกบริษัทที่มีตัวตน ซื้อแล้วยังติดต่อและให้บริการได้
สอบถามร้านว่ามีอะไหล่บริการมั้ย ถ้าเสียหรือต้องการอะไหล่ จะไม่ต้องทิ้งแทรมโพลีนไปเลย
ข้อ 10 – ดูความน่าเชื่อถือของบริษัท ดูเว็ปไซด์ ดูจากการตอบของทีมแอดมินตอบแชท
แทรมโพลีนหน้าตาคล้ายกัน ราคาต่างกันเยอะ จะรู้แน่ชัดคือ ต้องทดลองกระโดดแทรมโพลีนจริง และตรวจสอบคุณภาพทุกชิ้นส่วนด้วยตัวเอง
ถ้าไม่สามารถมาทดลองเองได้ ก็ตรวจสอบจาก รีวิว รูปภาพ และข้อมูลในเว็ปไซด์
- บริษัทอยู่ในวงการมากี่ปี
- ดูสินค้าที่จำหน่าย มีกี่รุ่น
- ดูการรับประกัน
วิธีที่ตรวจว่า สินค้ารุ่นไหนขายดี ให้ดูที่สต๊อคสินค้า ดูสต๊อคอะไหล่ของสินค้า บริษัทไหนมั่นคง ขายดี สต๊อคสินค้า สต๊อคของอะไหล่จะเยอะแน่นอน
การผลิตและนำเข้าแทรมโพลีน ต้องสั่งในปริมาณมาก โรงงานที่มีมาตรฐานสูงไม่รับผลิตในปริมาณน้อย ๆ ถ้าบริษัทมีสินค้าน้อย ตั้งสันนิษฐานได้เลยว่า บริษัทนั้น ๆ อาจจะไปรับสินค้าที่ตกรุ่น ตกสเปคจากที่อื่นมาขาย